แด่เธอผู้รู้สึกตัว
โดย หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
******
ธรรมะคือตัวเรานี่ เอง ทุกๆคนคือธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง คนไทย คนจีน หรือชาวตะวันตก ทั้งหมดคือธรรมะ การปฏิบัตินั้นอยู่ที่ตัวเรา และคำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถนำเราไปสู่สภาพของการดับทุกข์อย่างแท้จริง มนุษย์ก็คือธรรมะ ธรรมะก็คือมนุษย์ เมื่อเรารู้ธรรมะเราก็เข้าใจว่าทุกๆสิ่งนั้นมิได้เป็นอย่างที่เราคิด ทุกๆสิ่งคือสมมติ (สิ่งที่ยอมรับตกลงกัน) นี่คือปัญญาที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะประจักษ์แจ้งในคำสอนที่แท้จริงของพระ พุทธเจ้า ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเราเห็นสิ่งนี้อย่างแท้จริง เราจะอยู่เหนือความเชื่อที่งมงายทั้งหลาย เพราะเรารู้ว่าธรรมะก็คือตัวเรา ตัวเราเท่านั้นที่จะนำชีวิตของเราเองมิใช่ใครอื่น นี้คือจุดเริ่มต้นของความสิ้นสุดแห่งทุกข์
ทุกข์เปรียบเหมือนกับปลิงที่เกาะติดแน่นกับตัวเรา และดูดเลือดของเรา ถ้าเราพยายามดึงมันออก มันก็ยิ่งเกาะแน่นขึ้นและเราก็เจ็บปวดยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราฉลาด เราเพียงแต่ใช้น้ำผสมกับใบยาและปูนกินหมาก และบีบน้ำที่ผสมแล้วลงบนตัวปลิง ปลิงมันกลัวแล้วมันจะหลุดของมันไปเอง ดังนั้นเราไม่ต้องไปแกะมันออกหรือไปดึงมัน เพื่อที่จะกำจัดมัน เช่นเดียวกับบุคคลที่ไม่รู้ พยายามจะหยุด โทสะ โมหะ โลภะ เขาเหล่านั้นพยายามต่อสู้และกดมันไว้ แต่สำหรับบุคคลผู้รู้เพียงมีสติเข้าไปดูจิตและเห็นความคิด
เปรียบเหมือนการเปิดไฟฟ้า บุคคลที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า จะพยายามหมุนที่หลอดไฟ หลอดไฟจึงไม่ติด แทนที่จะไปแตะที่สวิตซ์ แต่สำหรับบุคคลผู้ซึ่งรู้เกี่ยวไฟฟ้า จะรู้จักวิธีใช้สวิตซ์ไฟและดวงไฟก็สว่างขึ้น โทสะ โมหะ โลภะ เปรียบเหมือนกับหลอดไฟฟ้า ความคิดเปรียบเหมือนกับสวิตซ์ ความคิดเป็นต้นเหตุของความผิดปกติเหล่านี้ ถ้าเราต้องการขจัดความยุ่งเหยิงผิดปกติเหล่านี้ ให้เรามาจัดการที่ความคิด เมื่อเรามีสติเฝ้าดูความคิดอยู่ โทสะ โมหะ โลภะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แท้จริงแล้วไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ เราแตะสวิสซ์ไฟที่นี่เพื่อให้เกิดความสว่างที่นั่น เราเจริญสติที่นี่เพื่อยังความสิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง
จิตดั้งเดิมของเรานั้นสะอาด สว่าง สงบ สิ่งซึ่งมิได้สะอาด สว่าง สงบนั้น มิใช่จิตเรามันคือกิเลส (ยางเหนียว) เราพยายามที่จะเอาชนะกิเลสนี้ แต่แท้จริงแล้วกิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องกระทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจโดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยแจ่มชัด เมื่อเราเห็นจิตใจอย่างชัดเจนโมหะก็จะไม่มีอยู่
การเจริญสติ เมื่อเรามีความรู้สึกตัวอยู่ จะไม่มีความหลงเปรียบเหมือนการเทน้ำลงไปในถ้วยแก้ว ขณะที่เราเทน้ำลงไป น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศและเมื่อเราเทน้ำจนเต็มแก้ว อากาศทั้งหมดในถ้วยแก้วก็จะหายไป แต่ถ้าเราเทน้ำออกอากาศก็จะเข้าไปในถ้วยแก้วทันที ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อมีโมหะอยู่สติปัญญาก็ไม่สามารถเข้ามาได้ แต่เมื่อเราปฏิบัติเจริญสติ ทำความรู้สึกที่ตัวของเราเอง ความรู้สึกตัวนี้จะเข้ามาแทนที่โมหะ เมื่อมีสติอยู่โมหะก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้
มรรคคือวิถีแห่งการปฏิบัติอันนำไปสู่ความสิ้นสุดแห่งทุกข์ วิถีแห่งการปฏิบัติคือการรู้สึกตัวเท่าทันความคิด ร่างกายของเราทำงานไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบ แต่จิตใจของเราจะต้องดูความคิด ทุกข์เกิดขึ้น เพราะเราไม่เห็นมัน มันจึงชนะเรา และยังให้เราเป็นทาส
การทำบุญและการรักษาศีล เปรียบประดุจดั่งข้าวเปลือกซึ่งไม่อาจกินได้ แต่ก็เป็นประโยชน์ เพราะเราจะใช้มันสำหรับการเพาะปลูกในปีถัดไป การทำตนเองให้สงบนั้นเปรียบดั่งเช่นข้าวสารที่ยังมิได้หุง และก็ยังคงกินไม่ได้ ความสงบนั้นมีสองอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือความสงบแบบสมถะ (ความจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งหรือสงบแบบไม่รู้) อย่างที่สองคือความสงบแบบวิปัสสนา (ปัญญาณ เห็นแจ้งรู้จริงสัมผัสได้ ไม่ทุกข์) ในการกระทำสมถภาวนานั้น เธอจะต้องนั่งนิ่งๆหลับตาแล้วดูลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เมื่อลมหายใจละเอียดอ่อนมากเข้าบางครั้งเธอจะไม่รู้สึกถึงลมหายใจนั้น และเธอรู้สึกสงบมาก แต่โทสะ โมหะ โลภะ ไม่สามารถถูกขจัดออกไปเพราะยังคงมีความไม่รู้อยู่ และเธอเองก็ไม่รู้สึกตัวของความคิดของเธอ แต่วิปัสสนาภาวนานั้นสามารถขจัดโทสะ โมหะ โลภะ และความสงบชนิดนี้สามารถมีในที่ทุกหนแห่งและในทุกเวลา ดังนั้นแล้วเราจึงไม่จำเป็นต้องนั่งปิดหูปิดตา ตาของเราสามารถดู หูของเราสามารถได้ยิน แต่เมื่อความคิดเกิดขึ้นเราเห็นมัน ( ตาเห็นสักแต่ว่าเห็น หูได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน จิตไม่เข้าไปปรุงแต่งมัน เป็นต้น ) ความสงบแบบนี้เป็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวทุกคน
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังป่าแห่งหนึ่ง พร้อมด้วยภิกษุจำนวนหนึ่ง พระองค์ทรงหยิบใบไม้แห้งกำมือหนึ่งขึ้นมา แล้วตรัสถามแก่ภิกษุว่า “ใบไม้ทั้งหมดในป่าและในมือของเราตถาคต เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วอย่างไหนจะมีมากกว่ากัน” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใบไม้ทั้งหมดในป่าย่อมมีมากกว่าใบไม้ที่อยู่ในมือของพระองค์อย่างเปรียบ เทียบกันมิได้พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “พระธรรมที่ตถาคตรู้นั้นมีมาก เปรียบเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่พระธรรมที่ตถาคตสอนแก่พวกเธอทั้งหลายนั้น เปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือเดียว” โปรดเข้าใจความหมายนี้ให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าทรงสอนเฉพาะเรื่องทุกข์ และการดับไปของทุกข์เท่านั้น มิได้มีสิ่งอื่นใด การศึกษาตำรา การบริจาคทาน การรักษาศีล การปฏิบัติสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ควรจะนำมาที่จุดนี้ (การพ้นทุกข์) มิฉะนั้นแล้วก็เป็นสิ่งที่ไร้ค่า เมื่อเรามาถึงจุดนี้ กิจที่ต้องทำทั้งหมดก็เป็นอันสิ้นสุด
ทุกข์เปรียบเหมือนกับปลิงที่เกาะติดแน่นกับตัวเรา และดูดเลือดของเรา ถ้าเราพยายามดึงมันออก มันก็ยิ่งเกาะแน่นขึ้นและเราก็เจ็บปวดยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราฉลาด เราเพียงแต่ใช้น้ำผสมกับใบยาและปูนกินหมาก และบีบน้ำที่ผสมแล้วลงบนตัวปลิง ปลิงมันกลัวแล้วมันจะหลุดของมันไปเอง ดังนั้นเราไม่ต้องไปแกะมันออกหรือไปดึงมัน เพื่อที่จะกำจัดมัน เช่นเดียวกับบุคคลที่ไม่รู้ พยายามจะหยุด โทสะ โมหะ โลภะ เขาเหล่านั้นพยายามต่อสู้และกดมันไว้ แต่สำหรับบุคคลผู้รู้เพียงมีสติเข้าไปดูจิตและเห็นความคิด
เปรียบเหมือนการเปิดไฟฟ้า บุคคลที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า จะพยายามหมุนที่หลอดไฟ หลอดไฟจึงไม่ติด แทนที่จะไปแตะที่สวิตซ์ แต่สำหรับบุคคลผู้ซึ่งรู้เกี่ยวไฟฟ้า จะรู้จักวิธีใช้สวิตซ์ไฟและดวงไฟก็สว่างขึ้น โทสะ โมหะ โลภะ เปรียบเหมือนกับหลอดไฟฟ้า ความคิดเปรียบเหมือนกับสวิตซ์ ความคิดเป็นต้นเหตุของความผิดปกติเหล่านี้ ถ้าเราต้องการขจัดความยุ่งเหยิงผิดปกติเหล่านี้ ให้เรามาจัดการที่ความคิด เมื่อเรามีสติเฝ้าดูความคิดอยู่ โทสะ โมหะ โลภะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แท้จริงแล้วไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ เราแตะสวิสซ์ไฟที่นี่เพื่อให้เกิดความสว่างที่นั่น เราเจริญสติที่นี่เพื่อยังความสิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง
จิตดั้งเดิมของเรานั้นสะอาด สว่าง สงบ สิ่งซึ่งมิได้สะอาด สว่าง สงบนั้น มิใช่จิตเรามันคือกิเลส (ยางเหนียว) เราพยายามที่จะเอาชนะกิเลสนี้ แต่แท้จริงแล้วกิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องกระทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจโดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยแจ่มชัด เมื่อเราเห็นจิตใจอย่างชัดเจนโมหะก็จะไม่มีอยู่
การเจริญสติ เมื่อเรามีความรู้สึกตัวอยู่ จะไม่มีความหลงเปรียบเหมือนการเทน้ำลงไปในถ้วยแก้ว ขณะที่เราเทน้ำลงไป น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศและเมื่อเราเทน้ำจนเต็มแก้ว อากาศทั้งหมดในถ้วยแก้วก็จะหายไป แต่ถ้าเราเทน้ำออกอากาศก็จะเข้าไปในถ้วยแก้วทันที ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อมีโมหะอยู่สติปัญญาก็ไม่สามารถเข้ามาได้ แต่เมื่อเราปฏิบัติเจริญสติ ทำความรู้สึกที่ตัวของเราเอง ความรู้สึกตัวนี้จะเข้ามาแทนที่โมหะ เมื่อมีสติอยู่โมหะก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้
มรรคคือวิถีแห่งการปฏิบัติอันนำไปสู่ความสิ้นสุดแห่งทุกข์ วิถีแห่งการปฏิบัติคือการรู้สึกตัวเท่าทันความคิด ร่างกายของเราทำงานไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบ แต่จิตใจของเราจะต้องดูความคิด ทุกข์เกิดขึ้น เพราะเราไม่เห็นมัน มันจึงชนะเรา และยังให้เราเป็นทาส
การทำบุญและการรักษาศีล เปรียบประดุจดั่งข้าวเปลือกซึ่งไม่อาจกินได้ แต่ก็เป็นประโยชน์ เพราะเราจะใช้มันสำหรับการเพาะปลูกในปีถัดไป การทำตนเองให้สงบนั้นเปรียบดั่งเช่นข้าวสารที่ยังมิได้หุง และก็ยังคงกินไม่ได้ ความสงบนั้นมีสองอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือความสงบแบบสมถะ (ความจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งหรือสงบแบบไม่รู้) อย่างที่สองคือความสงบแบบวิปัสสนา (ปัญญาณ เห็นแจ้งรู้จริงสัมผัสได้ ไม่ทุกข์) ในการกระทำสมถภาวนานั้น เธอจะต้องนั่งนิ่งๆหลับตาแล้วดูลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เมื่อลมหายใจละเอียดอ่อนมากเข้าบางครั้งเธอจะไม่รู้สึกถึงลมหายใจนั้น และเธอรู้สึกสงบมาก แต่โทสะ โมหะ โลภะ ไม่สามารถถูกขจัดออกไปเพราะยังคงมีความไม่รู้อยู่ และเธอเองก็ไม่รู้สึกตัวของความคิดของเธอ แต่วิปัสสนาภาวนานั้นสามารถขจัดโทสะ โมหะ โลภะ และความสงบชนิดนี้สามารถมีในที่ทุกหนแห่งและในทุกเวลา ดังนั้นแล้วเราจึงไม่จำเป็นต้องนั่งปิดหูปิดตา ตาของเราสามารถดู หูของเราสามารถได้ยิน แต่เมื่อความคิดเกิดขึ้นเราเห็นมัน ( ตาเห็นสักแต่ว่าเห็น หูได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน จิตไม่เข้าไปปรุงแต่งมัน เป็นต้น ) ความสงบแบบนี้เป็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวทุกคน
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังป่าแห่งหนึ่ง พร้อมด้วยภิกษุจำนวนหนึ่ง พระองค์ทรงหยิบใบไม้แห้งกำมือหนึ่งขึ้นมา แล้วตรัสถามแก่ภิกษุว่า “ใบไม้ทั้งหมดในป่าและในมือของเราตถาคต เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วอย่างไหนจะมีมากกว่ากัน” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใบไม้ทั้งหมดในป่าย่อมมีมากกว่าใบไม้ที่อยู่ในมือของพระองค์อย่างเปรียบ เทียบกันมิได้พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “พระธรรมที่ตถาคตรู้นั้นมีมาก เปรียบเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่พระธรรมที่ตถาคตสอนแก่พวกเธอทั้งหลายนั้น เปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือเดียว” โปรดเข้าใจความหมายนี้ให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าทรงสอนเฉพาะเรื่องทุกข์ และการดับไปของทุกข์เท่านั้น มิได้มีสิ่งอื่นใด การศึกษาตำรา การบริจาคทาน การรักษาศีล การปฏิบัติสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ควรจะนำมาที่จุดนี้ (การพ้นทุกข์) มิฉะนั้นแล้วก็เป็นสิ่งที่ไร้ค่า เมื่อเรามาถึงจุดนี้ กิจที่ต้องทำทั้งหมดก็เป็นอันสิ้นสุด
*******
กิ่งธรรมจาก http://buddhadham.zzl.org
No comments:
Post a Comment